บ่า คือบริเวณที่กล้ามเนื้อต่อมาจากคอแผ่ตามแนวข้างคอและมาสุดที่หัวไหล่
สะบัก (Scapular)คือส่วนของกระดูกที่เป็นคล้ายปีก อยู่บนกระดูกชายโครง (Rib cage) ของลำตัวช่วงบนทั้งสองข้าง และกระดูกสองชิ้นนี้โดยปกติจะวางห่างจากตรงกลางกระดูกสันหลังเพียง 2 นิ้ว หัวไหล่ (Shoulder)เป็นส่วนที่ลำตัวต่อเชื่อมโยงกับแขนของคนเรา ทางกายวิภาคศาสตร์ ทั้งสามส่วนนี้ ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยสิ้นเชิง เพราะถูกเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นบริเวณเดียวกัน (Shoulder Girdle) ดังนั้นเมื่อร่างกายส่งสัญญาณ บอกถึงความเจ็บปวด ที่เกิดขึ้น ทั้งสามส่วนนี้จึงเป็นปัญหาที่ส่งผลซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นผลที่เชื่อมโยง มาจากคอได้ด้วยเช่นเดียวกัน หลายท่านอาจมีปัญหาจากการทำงานไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ การหิ้วของ การสะพายกระเป๋าหนัก การทำงานบ้าน การนอนทับหัวไหล่ หรือจากการได้รับอุบัติเหตุไหล่กระแทกฯลฯ ซึ่งทั้งหมดอาจทำให้ร่างกายของท่านแสดงอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดบ่าร้าวไปสะบัก ปวดในหัวไหล่ ยกไหล่ไม่สุด เสียวแปล๊บๆ บางจังหวะที่มีการเคลื่อนหัวไหล่จนก่อให้เกิด ความรำคาญเรื้อรัง ปวดลึกๆ ใต้สะบัก บางรายอาจรู้สึกปวดที่สะบักแล้วเสียวเข้าช่องอก หายใจแรงก็รู้สึกปวดแปล๊บใต้สะบัก (บ้านเราชอบเรียกสะบักจม) เวลาหมุนไหล่หรือเคลื่อนไหวไหล่ก็มักมีเสียง คลึกๆ อยู่ด้านในลึกๆ รู้สึกในหัวไหล่และสะบักด้านที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวไม่คล่องขัดอยู่ในข้อลึกๆ หลายท่านอาจได้รับการรักษามาหลายทาง แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่ท่านเป็นได้ตรงจุด ให้ทดลองปรับโครงสร้างร่างกายให้สมดุล การปรับโครงสร้างร่างกายช่วยได้อย่างไร ?ท่านทราบหรือไม่ว่าการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ที่จะสามารถยกได้สุดนั้น 2 ใน 3 ของการเคลื่อนไหวมาจากการเคลื่อนของหัวไหล่ ( Glenohumeral joint ) อีก 1 ใน 3 มาจากการเคลื่อนของสะบัก ( Scapulothoracic joint ) และหากมีความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยเฉพาะกล้ามเนื้อชั้นลึกที่เชื่อมจากคอผ่านบ่า ไปที่สะบัก และไปที่หัวไหล่ กล้ามเนื้อเหล่านี้แหละที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดเรื้อรังอาการปวดบ่า สะบัก และหัวไหล่นั้นส่วนใหญ่มักมีผลกระทบมาจากความผิดปกติของโครงสร้างคอกล้ามเนื้อทั้งสามส่วนนี้มีจุดเกาะเกี่ยวมาจากกระดูกคอ และหัวไหล่เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่ายแต่ในขณะเดียวกันก็มีกล้ามเนื้อโดยรอบให้ความมั่นคงกับหัวไหล่ไว้ ( Rotator Cuff muscle ) ด้วยเหตุที่เราใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เมื่อร่างกายเกิดความไม่สมดุลก็มักมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเหล่านี้ ทำให้มีอาการปวดบ่า สะบัก และหัวไหล่เรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในท่าคอยื่นไปด้านหน้า ไหล่งุ้มงอ ห่ออก ซึ่งในภาวะปกติร่างกายคนเราเวลาทำงานมักมีแนวโน้มก้มไปด้านหน้าอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมักมีการหดสั้นของกล้ามเนื้อด้านหน้า และยืดยาวออกของกล้ามเนื้อด้านหลัง ทำให้หลังยิ่งโก่งงองุ้มมากขึ้น และเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นเอ็น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ รวมถึงเส้นเลือด เส้นประสาทโดยรอบ เกิดการบาดเจ็บจนเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงเพื่อบรรเทาอาการปวด ก็จะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องรุกรามถึงขั้นเป็นโรครุนแรง จนอาจทำให้เสียศักยภาพของแขนอีกข้างก็เป็นได้การปรับโครงสร้างร่างกายไม่เพียงเป็นการแก้ที่ต้นเหตุของอาการปวดเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการปรับสมดุลทั้งร่างกาย เพราะกล้ามเนื้อคนเราไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นส่วนๆได้ ต่างก็มีความเชื่อมโยงถึงกันไปหมด ดังนั้นการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ก็เสมือนได้ร่างกายที่แข็งแรง ทนทาน พร้อมในการใช้งาน ใช้ชีวิตประจำได้โดยไม่มีอาการปวดมารบกวนอีก หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเรื้อรังกับอาการปวดบ่า สะบัก และไหล่อยู่ ลองเลือกวิธีการรักษาด้วยการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย เพื่อการรักษาที่ต้นตอของอาการไม่เสี่ยงต่อการเป็นเรื้อรังและรุนแรงมากเกินจนรักษาไม่ได้
Credit : ariyawellness.com
コメント