การฝังเข็ม (Acupuncture)
การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพในศาสตร์การแพทย์แผนจีนมาเป็นเวลาหลายพันปี ชาวจีนโบราณได้ค้นพบวิชานี้จากการบาดเจ็บ เช่น มีของแหลมทิ่มแทงขณะทำงาน หรือต่อสู้ เมื่อบาดแผลทุเลาลงปรากฏว่าโรคประจำตัวบางอย่างหายไปด้วย
วิชาการฝังเข็มด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนจึงเป็นที่แพร่หลายนานาประเทศ มีการศึกษาทดลองจนเป็นที่สนใจและให้ความสำคัญไปทั่วโลก
ตามตำราจีนโบราณค้นพบ จุดฝังเข็มบนร่างกายทั้งหมด 365 จุดกระจายอยู่บนร่างกายที่เรียกว่า “เส้นลมปราณ” ซึ่งเส้นลมปราณแต่ละเส้นจะเชื่อมต่อกับอวัยวะภายในร่างกาย หากพลังลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก หรือ ไหลเวียนติดขัด ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ที่เราเรียกว่า ภาวะร่างกายไม่สมดุล (หยิน-หยางไม่สมดุล)
การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร
เป็นวิธีการลงเข็มรักษาไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีการประสานการทำงานเป็นระบบองค์รวมโดยผ่านเส้นลมปราณ ในเส้นลมปราณจะมีพลังชี่และเลือดไหลเวียนอยู่ การฝังเข็มจะทำให้จุดฝังเข็มสะท้อนกลับไปปรับสมดุลอวัยวะต่างๆ ที่เสียสมดุลให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล
การฝังเข็มเจ็บไหม
การฝังเข็มจะฝังเข็มลงที่กล้ามเนื้อ บริเวณจุดฝังเข็มนั้นๆ ระหว่างเข็มฝังเข้าไปแทบจะไม่มีความรู้สึกของเข็ม หลังจากเข็มเข้าไปแล้วจะรู้สึกอาการตึงๆ หน่วงๆ บางจุดจะชาๆ จื้ดๆ แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดเหมือนโดนฉีดยา เนื่องจากเข็มที่ใช้ฝังเข็มเล็กประมาณ 0.20 mm.
ก่อนการฝังเข็มควรเตรียมพร้อมร่างกายอย่างไร
พักผ่อนให้เพียงพอ
ไม่หิวหรืออิ่มจนเกินไป
ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ก่อน หรือหลังฝังเข็ม
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติหลังการฝังเข็ม
ห้ามออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป
ว่ายน้ำ (ควรว่ายหลังฝังเข็มประมาณ 2 ชม.)
หลังฝังเข็มอาจมีความรู้สึกตึงๆ แน่นๆ ของเข็มบ้างเล็กน้อย หลังจากนั้นครึ่งชั่วโมงจะหายไปเอง กรณีที่มีอาการปวดบวม เนื่องจากระหว่างฝังเข็มผู้ป่วยมีการขยับหรือเกร็งบริเวณที่ฝังเข็มทำให้ เกิดการรัดตึงที่เข็ม หลังถอนเข็มอาจมีเลือดออกเล็กน้อยหรือเป็นตุ่มก้อน ให้กดค้างไว้ประมาณ 10 วินาที อาจทิ้งรอยจ้ำเขียวๆ เหมือนโดนชนของ ประมาณ 2-3 วันหายเป็นปกติ
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรค และบรรเทาอาการด้วยการฝังเข็มไว้ ดังนี้
กลุ่มอาการปวดต่างๆ
ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า
ปวดจากการเคล็ดขัดยอก
ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
ปวดจากรูมาตอยด์
ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า
ปวดท้องประจำเดือน
อัมพฤกษ์ อัมพาต และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
โรคทางหู
หูมีเสียง (มีเสียงผิดปกติในหู)
หูอื้อ หูดับ
โรคภูมแพ้
หวัดเรื้อรัง
หอบหืด
โรคเครียด
นอนไม่หลับ
ซึมเศร้า วิตกกังวล
โรคทางผิวหนัง
สิว ฝ้า
ผมร่วง
งูสวัส
ผื่นต่างๆ
โรคระบบทางเดินอาหาร และลำไส้
ท้องผูก ท้องเดิน
ริดสีดวงทวาร
สะอึก
ปวดท้องเรื้อรัง
โรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
โรคเบาหวาน
ลดความอ้วน กระชับสัดส่วน หรือเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด เป็นต้น
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายไป
ที่มา: bangkokhospital.com
Comments